สภาพมองเห็นได้ ของ สุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ภาพเคลื่อนไหวของเงาในเหตุการณ์สุริยุปราคาสิงหาคม 2560 โดยคราสเต็มดวงปรากฏเป็นจุดสีดำเล็ก ๆ ท่ามกลางวงกลมสีเทาขนาดใหญ่ไฟล์:Great American Eclipse August 21, 2017.gifภาพเคลื่อนไหวของเงาในเหตุการณ์สุริยุปราคา 21 สิงหาคม 2560 พร้อมจุดจอมฟ้าของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์แสดงโดยเส้นสีเหลืองและเขียวตามลำดับ

สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนี้มีแมกนิจูดที่ 1.0306 และจะมองเห็นได้เป็นระยะ 110 กม. ผ่านรัฐจำนวนสิบสี่รัฐของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ รัฐออริกอน รัฐไอดาโฮ รัฐไวโอมิง รัฐมอนแทนา รัฐไอโอวา รัฐแคนซัส รัฐเนแบรสกา รัฐมิสซูรี รัฐอิลลินอยส์ รัฐเคนทักกี รัฐเทนเนสซี รัฐจอร์เจีย รัฐนอร์ทแคโรไลนา และรัฐเซาท์แคโรไลนา[1][2] โดยมองเห็นจากแผ่นดินครั้งแรกหลังจากเวลา 10:15 PDT (17:15 UTC) เพียงไม่นานที่ชายฝั่งแปซิฟิกของรัฐออริกอน จากนั้นคราสจะเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกผ่านเมืองเซเล็ม รัฐออริกอน เมืองแคสเปอร์ รัฐไวโอมิง เมืองลิงคอล์น รัฐเนแบรสกา เมืองแคนซัสซิตี รัฐมิสซูรี เมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี เมืองโฮปคินส์วิลล์ รัฐเคนทักกี เมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี เมืองโคลัมเบีย รัฐเซาท์แคโรไลนา และสุดท้ายที่เมืองชาร์เลสตัน รัฐเซาท์แคโรไลนา (คราส)

คราสบดบังลึกที่สุดครั้งนี้กินระยะเวลา 2 นาที 41.6 วินาทีที่ 37°35′0″N 89°7′0″W / 37.58333°N 89.11667°W / 37.58333; -89.11667 ในอุทยานแห่งรัฐไจแอนท์ซิตี ทางใต้ของเมืองคาร์บอนเดล รัฐอิลลินอยส์ และเงาคราสมีขนาดใหญ่ที่สุดที่ 36°58′0″N 87°40′18″W / 36.96667°N 87.67167°W / 36.96667; -87.67167 ใกล้กับหมู่บ้านของเซรูเลียน รัฐเคนทักกี อยู่ระหว่างเมืองโฮปคินส์วิลล์ และพรินซ์ตัน[3] นับเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแรกที่มองเห็นได้จากสหรัฐอเมริกาตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สุริยุปราคาเต็มดวง 7 มีนาคม พ.ศ. 2513 ซึ่งมองเห็นได้แต่ที่รัฐฟลอริดา

ส่วนสุริยุปราคาบางส่วนจะมองเห็นได้กว้างกว่าโดยเส้นทางเงามัวของดวงจันทร์ ซึ่งจะมองเห็นได้ในทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ตอนเหนือ ยุโรปตะวันตก และทวีปแอฟริกา

ใกล้เคียง

สุริยุปราคา สุริยุปราคา 8 เมษายน พ.ศ. 2567 สุริยุปราคา 2 ตุลาคม พ.ศ. 2567 สุริยุปราคา 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 สุริยุปราคา 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538 สุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560 สุริยุปราคา 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563 สุริยุปราคา 4 ธันวาคม พ.ศ. 2564 สุริยุปราคา 14 ตุลาคม พ.ศ. 2566 สุริยุปราคา 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411

แหล่งที่มา

WikiPedia: สุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560 http://www.greatamericaneclipse.com http://www.markstravelnotes.com/travelogues/2017/t... http://www.nationaleclipse.com http://www.shadowandsubstance.com/2017/2017e.html http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEbeselm/SEbeselm2001... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEcat5/SE2001-2100.ht... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEgoogle/SEgoogle2001... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEplot/SEplot2001/SE2... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsaros/SEsaros145.ht... http://aa.usno.navy.mil/data/docs/Eclipse2017.php